สมาคมชาวนครศรีธรรมราช ศูนย์รวมสานสัมพันธ์พี่น้องชาวนคร

คำขวัญเมืองคอน

คำขวัญจังหวัดนครศรีธรรมราช

คำขวัญประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

ตราประจำจังหวัด
เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์มีรูปสัตว์ ตามปีนักษัตรล้อมรอบ หมายถึง เมือง 12 นักษัตร
จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 มีทั้งหมด 12 เมือง
ความหมายจังหวัด นครอันงามสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม ใช้อักษรย่อจังหวัด นศ.
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกราชพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด ชื่อ ต้นแซะ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mellettia atropurpurea
นกประจำจังหวัด ชื่อ นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird)



เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
มีเชื้อชาติไทยพำนักทางปักษ์ใต้
ตั้งนครสุนทรสง่ามาแต่ไร
ปัญญาไวฉลาดเฉลียวเชี่ยวปฏิภาณ
เคยมีชื่อเด่นชัดในประวัติศาสตร์
สืบทายาทตระกูลใหญ่เกียรติไพศาล
มีพระธาตุขวัญเมืองเรืองสักการ
ตามตำนานชาติไทยได้มีมา
จนบัดนี้ก็ยังมีความดีเด่น
สมที่เป็นเมืองสำคัญอันสุดหา
สมเป็นด่านด้านใต้ใกล้คงคา
พึงรักษาเกียรติไว้คู่ไทยเทอญ


ประวัติของธงประจำจังหวัด

      ได้เริ่มมีการใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2458 สืบเนื่องมาจากการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งแรก ที่จังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯ) ในการชุมนุมครั้งนั้นคณะลูกเสือจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้คิดจัดทำธงขึ้นโดยกะทันหัน โดยเลือกสีธงเป็น "สีม่วง" ตามชื่อเดิมของ "พระรัตนธัชมุณี" (ม่วง) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษาของมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นผู้ฝึกขับร้องเพลงบอกให้แก่คณะลูกเสือจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ไปในคราวนั้น เมื่อกลับจากการชุมนุมที่จังหวัดพระนคร คณะลูกเสือเหล่านี้ได้มารายงานเรื่องสีของธงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (พระยาประชากิจกรจักร์ ) (ฟัด มหาเปาระยะ) ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าได้ใช้สีม่วงไปแสดงต่อประชาชนในวงกว้างแล้ว ก็ให้ถือเอาสีม่วงเป็นสีธงประจำจังหวัดนับแต่นั้นมา อนึ่ง มาใช้ในชั้นหลังได้มีการนำสีเหลือง ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของเมืองพระและตราสิบสองนักษัตร อันเป็นตราประจำเมืองเข้าไปไว้ตรงกลางผืนธง ทำให้ธงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมราชมีตราสิบสองนักษัตรประทับอยู่แต่นั้นมา




Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Scroll